ภูมิหลังของปัญหา
บุรีรัมย์เป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน
มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้หลายแห่ง เช่น ปราสาทหินพนมรุ้ง
ปราสาทเมืองต่ำ วนอุทยานเขากระโดง เป็นต้น
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังบ่งบอกถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ค่านิยม ประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆในสมัยบรรพบุรุษของชาวจังหวัดบุรีรัมย์ด้วย
แต่ในปัจจุบันจังหวัดบุรีรัมย์เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย
มีการวิวัฒนาการไปตามโลก เราจะไม่ค่อยเห็นวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม
มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยีที่ทันสมัย เกิดค่านิยมและวัฒนธรรมใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการอยู่
การกิน การใช้ชีวิต
ซึ่งวัฒนธรรมเหล่านี้เป็นการบ่มเพาะจนทำให้เราลืมและไม่เข้าใจรากเหง้าของตัวเอง
ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจรากเหง้าของตัวเองซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเรียนรู้ ท้าทายชวนให้เราค้นหาคำตอบจากสิ่งต่างๆรอบตัวที่เรายังไม่รู้
และเพื่อเข้าใจตัวเราเองมากยิ่งขึ้น
คำถามหลัก (Big Questions) :
นักเรียนจะรู้จักรากเหง้าของตัวเอง เข้าใจ เห็นคุณค่า และนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตให้มีความสุขได้อย่างไร
ปฏิทินการเรียนรู้
หน่วย “
บ้านเธอบ้านฉันบุรีรัมย์บ้านเรา ”
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
2
Quarter 1 ประจำปีการศึกษา 1/2557
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
1
– 2
14
– 23 พ.ค. 57
|
โจทย์ สร้างฉันทะ/สร้างแรง
คำถาม
นักเรียนเห็นอะไรจากคลิปแสง
สี เสียง พนมรุ้ง
|
กระบวนการได้มาซึ่งหัวข้อ
- ครูเปิดคลิปเรื่องราวเกี่ยวกับจังหวัดบุรีรัมย์ให้นักเรียนดู
- นักเรียนเห็นอะไรบ้างและรู้สึกอย่างไร
จากคลิปวิดีโอที่ได้ดู
- นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรในQuarter นี้ ผ่านเครื่องมือคิด Card
and Chart พร้อมให้เหตุว่าเพราะเหตุใดจึงอยากเรียนรู้
เรื่องนั้น
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- ดูคลิปแสง สี
เสียง พนมรุ้ง
- การสนทนาตอบคำถามแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู
ได้ฟัง
- แสดงความคิดเห็นให้เหตุผลประกอบเรื่องที่อยากเรียนรู้
ชิ้นงาน
- สรุปสิ่งที่ได้จากคลิป
- เขียนเรื่องที่อยากเรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
เข้าใจและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
ทั้งสามารถให้เหตุผลเรื่องที่อยากเรียนรู้ได้
|
3
26
– 30 พ.ค. 57
|
โจทย์ วางแผนการเรียนรู้
คำถาม
-นักเรียนจะตั้งชื่อสิ่งที่อยากเรียนรู้นี้ว่าอะไร
เพราะเหตุใด
-นักเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับจังหวัดบุรีรัมย์และอยากเรียนรู้อะไรบ้างใน Quarter นี้
-นักเรียนจะออกแบบวางแผนการเรียนรูใน Quarter
|
กระบวนการวางแผนการเรียนรู้
- ตั้งชื่อโครงงาน
- เขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากรู้
- ทำปฏิทินการเรียนรู้ 10 สัปดาห์
- เขียนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- ระดมสมองตั้งชื่อโครงงาน
- นำเสนอปฏิทินการเรียนรู้
ชิ้นงาน
- สิ่งที่รู้แล้ว
สิ่งที่อยากเรียนรู้
- สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน (Mind Mapping)
- ทำสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
- ทำเค้าโครงปฏิทินการเรียนรู้แต่ละสัปดาห์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ออกแบบวางแผนการเรียนรู้และเลือกสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
|
4
2
– 6 มิ.ย. 57
|
โจทย์ ประวัติศาสตร์
คำถาม
-นักเรียนคิดว่าบุรีรัมย์มีความเป็นมาอย่างไร
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงคืออะไร
-คำว่า “บุรีรัมย์ตำน้ำกิน” มีที่มาอย่างไร
|
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
-นักเรียนคิดว่าบุรีรัมย์มีความเป็นมาอย่างไร
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงคืออะไร
-คำว่า “บุรีรัมย์ตำน้ำกิน” มีที่มาอย่างไร
-นักเรียนแสดงความคิดเห็นจากคำถาม
- แบ่งกลุ่มๆละ 5-6 แสดงบทบาทสมมติจากเรื่องที่ได้เรียนรู้
-
นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- หาข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของจังหวัดบุรีรัมย์
- ระดมสมองวิเคราะห์ข้อมูล
- ละคร
ชิ้นงาน
- นิทาน/การ์ตูนช่อง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
เข้าใจถึงประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งจังหวัดบุรีรัมย์
|
5
9
– 13 มิ.ย. 57
|
โจทย์ สถานที่ตั้งชุมชนของคนบุรีรัมย์
คำถาม
ชุมชนในจังหวีดบุรีรัมย์มีการตั้งถิ่นฐานอย่างไร
|
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
- จังหวัดบุรีรัมย์มีลักษณะภูมิศาสตร์อย่างไร
- ภูเขา แม่น้ำ
และลำน้ำสายสำคัญในจังหวัด
- นักเรียนหาข้อมูลเกี่ยวกับแผนที่และที่ตั้งของจังหวัดบุรีรัมย์
-
นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- หาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะภูมิศาสตร์ สัญลักษณ์ และที่มาต่างๆของสัญลักษณ์ของจังหวัดบุรีรัมย์
ชิ้นงาน
- วาดภาพแผนที่และที่ตั้งของจังหวัดบุรีรัมย์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
เข้าใจความแตกต่างของลักษณะพื้นที่ ที่ตั้ง
อาณาเขตของจังหวัดบุรีรัมย์
|
6
16 -20 มิ.ย. 57
|
โจทย์ สถานที่สำคัญต่างๆในจังหวัดบุรีรัมย์
คำถาม
-สถานที่สำคัญต่างๆส่งผลต่อบุรีรัมย์อย่างไร
-สัญลักษณ์ต่างๆ บ่งบอกถึงคนบุรีรัมย์อย่างไร
|
ครูกระตุ้นผ่านคำถาม “นักเรียนจะอยู่ร่วมกันอย่างสถานที่สำคัญในจังหวัด”
-ครูให้นักเรียนค้นหาสถานที่สำคัญต่างๆ
จากใบงานที่ได้
-ค้นหาสัญลักษณ์ประจำจังหวัด เช่น
ต้นไม้ดอกไม้
- แบ่งกลุ่มๆละ 5-6 แสดงบทบาทสมมติจากเรื่องที่ได้เรียนรู้
|
ภาระงาน
- ละคร
-
หาสถานที่สำคัญของจังหวัดบุรีรัมย์
ชิ้นงาน
- การ์ตูนช่อง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
เข้าใจและรู้สถานที่สำคัญต่างๆ
ในจังหวัดบุรีรัมย์พร้อมทั้งให้เหตุผลบอกถึงความสำคัญของสถานที่นั้นๆ
|
7
23
– 27 มิ.ย. 57
|
โจทย์ ประเพณีของคนในจังหวัดบุรีรัมย์
คำถาม
ประเพณีมีความสำคัญอย่างไรกับวิถีชีวิตของคนบุรีรัมย์
|
ครูกระตุ้นผ่านคำถาม “ประเพณีมีความสำคัญอย่างไรกับวิถีชีวิตของคนบุรีรัมย์”
- นักเรียนพูดคุยและแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับประเพณีในชุมชน
- ประเพณี 12 เดือนในจังหวัดบุรีรัมย์
- คลิปประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
-ค้นหาประเพณีทั้งสิบสองเดือนว่ามีประเพณีอะไร
และทำอย่างไร
ชิ้นงาน
-แผนภาพวงกลมประเพณีทั้งสิบสองเดือนในจังหวัดบุรีรัมย์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
- เข้าใจความหมายของคำว่าประเพณี
-บอกถึงความเกี่ยวข้องของประเพณีที่มีความสำคัญกับวิถีความเป็นอยู่ของคนในจังหวัดบุรีรัมย์ได้
|
8
30 มิ.ย. – 4 ก.ค.57
|
โจทย์ วัฒนธรรมทางภาษา การแต่งกาย และการกิน
คำถาม
-วัฒนธรรมต่างๆ
ส่งผลต่อวิถีชีวิตคนบุรีรัมย์อย่างไร
|
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม
-วัฒนธรรมคืออะไรบ้าง
ทำไมถึงเรียกวัฒนธรรม
-วัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นของคนบุรีรัมย์แตกต่างกันอย่างไร
-วัฒนธรรมทางภาษา การแต่งกาย และการกินของคนในจังหวัดบุรีรัมย์
- แบ่งกลุ่มๆละ 5-6
ประกอบอาหารประจำจังหวัดบุรีรัมย์
|
ภาระงาน
- ค้นคว้าวัฒนธรรมการแต่งกาย ภาษา
และอาหารประจำจังหวัดบุรีรัมย์
-นำเสนอสิ่งที่ได้ค้นคว้ามา
-ประกอบอาหารพื้นถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์
(หมี่ยำ)
ชิ้นงาน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
เข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของคนในจังหวัดบุรีรัมย์ตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน
|
9
7
– 11 ก.ค. 57
|
โจทย์ สินค้าและเศรษฐกิจ
คำถาม
-นักเรียนคิดว่าในอนาคตบุรีรัมย์จะเป็นอย่างไร
เพราะเหตุใด
-นักเรียนจะรับมือในการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอย่างไร
|
ครูใช้คำถามกระตุ้นในการเรียนรู้
- นักเรียนคิดว่าคนในจังหวัดบุรีรัมย์มีวิถีชีวิตและประกอบอาชีพอะไรเป็นส่วนใหญ่
-นักเรียนรู้จักสินค้าประจำจังหวัดบุรีรัมย์อะไรบ้าง
และทำไมถึงได้ชื่อว่าเป็นสินค้าประจำจังหวัด
- นักเรียนจะออกแบบสินค้าเพื่อประชาสัมพันธ์ให้คนอื่นได้รู้จักบุรีรัมย์ได้อย่างไร
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- ค้นคว้าหาสินค้าประจำจังหวัด
- วางแผนเมนูอาหารจากวัตถุดิบที่มาจากพื้นถิ่นบุรีรัมย์
-ประกอบอาหารพื้นถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์
ชิ้นงาน
- ใบประชาสัมพันธ์เปิดตลาด
- สินค้าที่จะนำมาเปิดตลาดอาหาร
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
เข้าใจและสามารถออกแบบการนำเสนอสินค้าให้ผู้อื่นรู้จักได้
|
10
7
– 11 ก.ค. 57
|
โจทย์ บุรีรัมย์ในอนาคต
คำถาม
-นักเรียนคิดว่าในอนาคตบุรีรัมย์จะเป็นอย่างไร
เพราะเหตุใด
-นักเรียนจะรับมือในการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอย่างไร
|
ครูใช้คำถามกระตุ้นในการเรียนรู้
- นักเรียนคิดว่าในอนาคตจังหวัดบุรีรัมย์ของเราจะเป็นอย่างไร
เพราะเหตุใด
- นักเรียนจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอย่างไร
- แบ่งกลุ่มๆละ 5-6 เขียน Place mate บุรีรัมย์ในอนาคต
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- นำเสนอภาพวาด
- Place mate บุรีรัมย์ในอนาคต
ชิ้นงาน
- ภาพวาดบุรีรัมย์ในอนาคต
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
นักเรียนสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของจังหวัดบุรีรัมย์ในอนาคตตามความคิดของตนเองได้
|
11
14
– 18 ก.ค. 57
|
โจทย์ สรุปองค์ความรู้ “บุรีรัมย์”
คำถาม
-นักเรียนจะเผยแพร่องค์ความรู้โครงงาน
“บุรีรัมย์”
ให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
-สิ่งที่ทำดีแล้ว
และสิ่งที่ควรปรับปรุงมีอะไรบ้าง
-
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในQuarter นี้
|
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
- นักเรียนจะเผยแพร่องค์ความรู้
โครงงาน“บุรีรัมย์” ให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
- ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม “ตลอด 10 สัปดาห์
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างใน Quarterนี้
ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง”
- ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ใน Quarter นี้ ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
- นักเรียนสรุปองค์ความรู้หลังเรียน
ผ่านเครื่องมือคิด Mind Mapping
- นักเรียนสรุปองค์ความรู้และเผยแพร่ผ่านละครเวที
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
แสดงละครเวที
ชิ้นงาน
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้หลังเรียน
- สรุปสิ่งที่ดีแล้วและสิ่งที่ควรปรับปรุง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
สามารถการวางแผนการนำเสนอการเรียนรู้ที่ผ่านมาให้แก่ผู้อื่นได้ร่วมเรียนรู้ได้ในรูปแบบที่น่าสนใจ
|